ประวัติ รพ. เมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
ประวัติ รพ. เมตตาประชารักษ์(วัดไร่ขิง)
สืบเนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ณ วัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม ได้มีพระราชดำรัส สรุปความว่า “คนไร่ขิงมีใจกว้างความสามารถสร้างโรงเรียนใหญ่ๆ แต่ในท้องถิ่นเป็นบริเวณที่มีน้ำเสียซึ่งจะมีผลกระทบสุขภาพของนักเรียน วัดน่าจะสร้างสถานที่พักฟื้น ๔-๕ เตียง” จากพระราชดำรัส ดังกล่าว
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง จึงได้ดำเนินการตามพระราชประสงค์โดยจัดสร้างโรงพยาบาลขนาด ๔๐๐ เตียง โดยใช้เงินบริจาคจากศรัทธาของประชาชน รวมที่ดินและสิ่งก่อสร้างตลอดจนวัสดุครุภัณฑ์ เป็นจำนวนทั้งสิ้น ๙๕,๗๗๘,๔๙๔ บาท
กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้กรมการแพทย์กำหนดให้เป็น “ศูนย์พัฒนาการควบคุมโรคไม่ติดต่อ” โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) รับผิดชอบการดำเนินการป้องกัน และควบคุมโรคไม่ติดต่อ เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๓๒ เวลา ๑๐.๓๐ น.
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ประกอบพิธีเปิดที่ทำการ “ศูนย์พัฒนาการควบคุมโรคไม่ติดต่อ” โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์(วัดไร่ขิง) และได้เปิดบริการผู้ป่วย อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นต้นมา
ปัจจุบันมีจักษุแพทย์ สาขาเฉพาะทางต่างๆ รวม 28 ท่าน
เป็นสถาบันผลิตจักษุแพทย์ และจักษุแพทย์เฉพาะทางเฉพาะ โดยมีแพทย์ประจำบ้านสาขาจักษุวิทยา ปีละ 5 ราย